หลักสำคัญของนวัตกรรม
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่
โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น
นวัตกรรมไว้ดังนี้
จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้
โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า
จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246)
นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์
หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า
สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ
และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก
แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ — Presentation Transcript
1. แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
Copy @ Right
2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลและสารสนเทศ
ระบบและระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
ลักษณะของสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
และประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
3. ความหมายของข้อมูล
ข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียง
ฯลฯ เช่น - จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์มูลฐานของนักศึกษา
- ที่อยู่ปัจจุบันของนักศึกษา - งบประมาณเงินรายได้ของคณะวิทยาการจัดการ -
ระเบียบการใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4. ความหมายของสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ
และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ
หรือรูปภาพ
5. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล ประมวลผล สารสนเทศ
6. ความหมายของความรู้
การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้
คือมีความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด
และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้
7. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
สารสนเทศ และความรู้ ข้อมูล สารสนเทศ บุคคลใช้ความรู้ การตัดสินใจ จัดรูปแบบ
กลั่นกรอง สรุปข้อมูล ความต้องการใช้สารสนเทศ สารสนเทศ แปลความหมาย ปฏิบัติ
8. ระบบและระบบสารสนเทศ
ระบบ หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ
ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วย
การนำเข้าสู่ระบบ ( Input) การประมวลผล ( Process) และผลลัพธ์ ( Output) และการให้ข้อมูลสะท้อนกลับ ( Feedback)
9. ตัวอย่างระบบและส่วนประกอบของระบบ
ขายตั๋วไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ผู้ชมได้ตั๋ว ดูหนัง การขายตั๋ว คนดูหนัง คนขายตั๋ว
ฯลฯ การขายตั๋วภาพยนต์ ได้ผู้ชนะเป็นตัวแทนเขต ผลการแข่งขัน การแข่งขันกีฬา
นักกีฬา สนามแข่ง ผู้ฝึกสอน ฯลฯ การแข่งขันกีฬากีฬาเขต การได้มาซึ่งความรู้ บัณฑิต
งานวิจัย การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหาร ตำรา ฯลฯ
สถาบัน การศึกษา ผลลัพธ์ ประมวลผล ส่วนนำเข้า เป้าหมาย ส่วนประกอบ ระบบ
10. ระบบสารสนเทศ
เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล
และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ
11. ข้อมูลนำเข้า
ประมวลผล ผลลัพธ์ องค์การ ระบบสารสนเทศ ( IS) ข้อมูลสะท้อนกลับ
สิ่งแวดล้อมองค์การ สหภาพแรงงาน ผ้ถือหุ้น ( เจ้าของกิจการ ) สถาบันการเงิน
ผู้ขายปัจจัยการผลิต ชุมชนโลก ลูกค้า รัฐบาล ( นโยบาย กฎหมาย ) คู่แข่งขัน
12. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
( Management Information Systems: MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการหาคนหรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล
เพื่อการดำเนินงานขององค์การ
เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ
และตัดสินใจในองค์การ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล
และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม
นอกจากนี้นยังช่วยผู้บริหารและพนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา
และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์
โปรแกรม และผู้ใช้ เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
13. สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ
14. คุณลักษณะที่ดีของสารสนเทศ
ถูกต้องแม่นยำ สมบูรณ์ครบถ้วน เข้าใจง่าย ทันต่อเวลา เชื่อถือได้ คุ้มราคา
ตรวจสอบได้ ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการใช้ สะดวกในการเข้าถึง ปลอดภัย
15. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
กระบวนการ ฮาร์ดแวร์ การสื่อสารและเครือข่าย ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล
16. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต